จะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขที่บ้านท้องหรือไม่ แล้วแม่สุนัขท้องกี่เดือน และจะคลอดเมื่อไหร่!? ใครที่เลี้ยงสุนัขเพศเมียและกำลังเริ่มมีอาการติดสัด หากแอบมองดูมาสักพักแล้วเห็นว่าน้องหมาบ้านเราก็เสน่ห์แรงไม่เบา หมอคิดว่าเราอาจจะต้องเตรียมเพื่อรับขวัญหลานที่กำลังเกิดมาได้แล้วนะครับ แต่ว่าคุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งเคยเลี้ยงสุนัขเพศเมียมากก่อน อาจยังไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งท้องของสุนัข วันนี้หมอเอ็ม Ultravet Pet จึงอยากพาเหล่าคนรักสุนัขไปคลายข้อสงสัยเรื่องนี้กันให้มากขึ้น พร้อมคำแนะนำในการดูแลสุนัขท้องแรกกันครับ
สุนัขท้องกี่เดือน นานไหมกว่าจะคลอด?
การตั้งครรภ์ของสุนัขจะใช้เวลา 2 เดือนกว่า ๆ หรือ 57 – 65 วัน (สุนัขทุกสายพันธุ์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ใกล้เคียงกัน) จะเห็นได้ว่าสุนัขใช้เวลาในการตั้งครรภ์ที่ไม่นาน ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ของสุนัข เป็นช่วงที่ผู้เลี้ยงจะสามารถสังเกตอาการสุนัขท้องได้มากขึ้นครับ แต่ถ้าต้องการตรวจดูอย่างแม่นยำ หมอแนะนำให้เข้ามาทำอัลตราซาวด์จะดีที่สุดครับ
อาการของสุนัขที่กำลังตั้งท้อง
เวลาคนเราท้องเรามักจะดูกันออกได้ง่าย ๆ แต่สำหรับสุนัขที่กำลังท้องอยู่ เราจะดูรู้ได้อย่างไร แล้วมีอาการเหมือนกับคนท้องไหม หมอเอ็มมีวิธีจับสังเกตสุนัขท้องเบื้องต้น มาให้ทุกคนได้ลองไปใช้ตามกันดูครับ
โดยส่วนมากแล้วสุนัขที่กำลังท้องมักจะมีอาการหายติดสัดเร็วกว่าตัวอื่นครับ หากผู้เลี้ยงเริ่มเห็นว่าสุนัขของเราดูเรียบร้อยขึ้น ไม่มีอาการฮีทเหมือนกับสุนัขตัวอื่น ๆ อาจต้องเริ่มคิดแล้วครับว่า สุนัขของเรากำลังท้องอยู่ ในช่วงที่สุนัขท้อง 1 สัปดาห์จะไม่ค่อยมีอาการอะไรมากนัก แต่พอเริ่มเข้าสัปดาห์ที่ 2 สุนัขจะเริ่มมีอาการเหล่านี้แสดงขึ้นมาให้เราเห็นครับ
วิธีสังเกตอาการของสุนัขท้อง
- ไม่มีอาการติดสัด
- ดูมีน้ำมีนวลขึ้น
- ขนเงางามขึ้น
- หัวนมเป็นสีชมพูขึ้น
- เต้านมใหญ่ขึ้น
- หน้าท้องขยายใหญ่
- มีอาการอาเจียน
- มีมูกสีขาวที่ช่องคลอด
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
จากข้อด้านบนก็เป็นวิธีดูว่าสุนัขท้องหรือไม่ที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ทั้งนี้หมอไม่แนะนำให้ตรวจครรภ์สุนัขด้วยการกดแรง ๆ นะครับ เพราะอาจกระทบต่อลูกสุนัขภายในได้ครับ หากต้องการให้รู้แน่ชัดสามารถพาสุนัขมาฝากครรภ์ที่คลินิกได้ครับ
How to ดูแลสุนัขที่ตั้งครรภ์ให้แข็งแรง
หากรู้แน่ชัดแล้วว่าสุนัขของเรากำลังท้องอยู่อย่างแน่นอน การดูแลแม่สุนัขก็ถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญนะครับ เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่สุนัขเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะสุนัขท้องแรกที่ยังไม่คุ้นชินกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ทั้งแม่สุนัขและลูกสุนัขปลอดภัย ผู้เลี้ยงสามารถดูแลทั้งในเรื่องของ อาหาร การนอน การพาไปตรวจร่างกาย และการเตรียมพื้นที่สำหรับการคลอด (ในกรณีที่ให้สุนัขคลอดที่บ้าน)
-
ให้ความสำคัญต่อเรื่องอาหาร
เรื่องของอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสุนัขท้องอย่างมากครับ ในช่วงนี้หมอแนะนำให้ผู้เลี้ยง เปลี่ยนจากการให้อาหารสุนัขโตมาเป็นอาหารสูตรสำหรับลูกสุนัขแทน เพราะในอาหารประเภทนี้อุดมไปด้วยโปรตีนและยังช่วยให้แม่สุนัขย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนขึ้นครับ แต่ทั้งนี้ต้องค่อย ๆ เปลี่ยนอาหารจนเขาเริ่มชินนะครับ ไม่ควรเปลี่ยนเลยทันที เพราะจะทำให้สุนัขถ่ายเหลวหรือสุนัขท้องเสียได้ครับ
-
เตรียมเบาะนอนที่ปลอดภัย ไม่มีตัวอื่นมารบกวน
ช่วงที่สุนัขท้องถือเป็นช่วงที่อารมณ์ของน้องไม่ค่อยคงที่นัก รวมทั้งสุนัขท้องยังเกิดความเครียดได้ง่ายด้วยครับ ดังนั้นควรมีพื้นที่สำหรับพักผ่อนให้สุนัขอย่างเพียงพอ ไม่มีการรบกวนจากสุนัขตัวอื่นมากนัก หรือ มีคนนอกเข้าถึงพื้นที่ของเขาได้ง่ายเกินไป
-
พาไปฝากครรภ์หรือตรวจร่างกาย
ผู้เลี้ยงหลายคนที่เพิ่งเริ่มเลี้ยงสุนัข อาจะไม่ทราบว่าจริง ๆ แล้วสุนัขสามารถฝากครรภ์ได้เช่นเดียวกับคนเลยครับ ซึ่งการพาสุนัขไปตรวจร่างกายและรับการฝากครรภ์กับทางสัตวแพทย์ จะช่วยให้เราสามารถติดตามอายุครรภ์ของสุนัข และทราบถึงความแข็งแรงของลูกสุนัขได้ง่ายขึ้นครับ อีกทั้งยังช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับสุนัขได้ด้วยครับ
-
จัดเตรียมพื้นที่สำหรับลูกสุนัข
เมื่อใกล้ถึงวันกำหนดคลอดการจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ และพื้นที่สำหรับลูกสุนัขถือเป็นอีกส่วนที่ช่วยให้ชีวิตที่เกิดใหม่ ได้รับการปกป้องและดูแลให้เติบโตขึ้นมาแข็งแรงยิ่งขึ้น แนะนำให้ผู้เลี้ยงจัดหาพื้นที่ที่ปลอดจากบุคคลภายนอกและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ จะดีต่อทั้งแม่สุนัขและลูกสุนัขครับ
-
มอบความรักให้สุนัขอยู่เสมอ
สุนัขถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องการความรักและความใส่ใจจากเจ้าของอยู่เสมอ และยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่ไม่เหนื่อยจะมอบความรักต่อผู้เลี้ยงเช่นกัน ในช่วงที่สุนัขท้องผู้เลี้ยงจึงควรพูดคุยและให้ความรักต่อเขาอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะคนหรือสัตว์เลี้ยง ต่างก็ต้องการกำลังใจเพื่อให้ก้าวผ่านช่วงเวลาต่าง ๆ ไปได้
อาการแทรกซ้อนระหว่างสุนัขตั้งท้อง
ในระหว่างการตั้งท้องของสุนัข ในบางเคสก็ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบเสมอ เพราะในสุนัขเองก็สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างสุนัขตั้งครรภ์ได้เช่นกันครับ จากเคสสุนัขที่มาฝากครรภ์มีหลายเคสที่พบปัญหารแทรกซ้อน ดังนี้
- มดลูกอักเสบหรือมีการติดเชื้อภายในช่องคลอด
- มีหนองไหลจากช่องคลอด
- โรคพยาธิติดเชื้อในเม็ดเลือด
- การท้องเทียมในสุนัข
- การแท้งลูก
พาสุนัขไปฝากครรภ์ดีไหม
การพาสุนัขท้องไปฝากครรภ์ถือว่าเป็นวิธีที่ดีมากครับ เพราะจะช่วยให้ผู้เลี้ยงทราบถึงสุขภาพของแม่สุนัขและลูกสุนัขได้ดียิ่งขึ้นครับ อีกทั้งในช่วงที่อายุครรภ์มากพอสำหรับการทำอัลตราซาวด์แล้ว สัตวแพทย์จะสามารถแจ้งจำนวนลูกสุนัขในครรภ์ได้อย่างแม่นยำขึ้นด้วยครับ ถือเป็นอีกทางที่จะช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถจัดเตรียมพื้นที่สำหรับลูกสุนัขได้อย่างเหมาะสมขึ้นครับ
รีวิว การฝากครรภ์สุนัขที่ Ultravet Pet Wellness Clinic
ที่ Ultravet Pet Wellness Clinic เราพร้อมให้การต้อนรับและดูแลสุนัขตั้งครรภ์ทุกตัวเลยครับ ที่นี่หมอเอ็มจะเป็นคนตรวจความแข็งแรงของสุขภาพแม่สุนัข ทำอัลตราซาวด์ และให้การดูแลสุนัขเกิดใหม่ เพื่อให้น้อง ๆ ที่เกิดมามีความสมบูรณ์ที่สุด รวมทั้งยังพร้อมดูแลความพร้อมของแม่สุนัขด้วยครับ หากใครที่ต้องการพาสุนัขมาฝากครรภ์ตลอดจนขยายพันธุ์ ก็สามารถพาสุนัขของทุกท่านมาที่ Ultravet Pet Wellness Clinic ได้เลยครับ
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำหมันสุนัข!
- ฉีดยาคุมแมว-สุนัข VS ทำหมัน เลือกแบบไหนดีกว่ากัน
- 3 หัวข้อน่ารู้! ก่อนทำหมันแมวหรือสุนัข
สรุป
ในบทความวันนี้หมอเชื่อว่าทุกท่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของสุนัข และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสุนัขท้องกี่เดือนไปเพียงพอแล้วนะครับ แม้ว่าในอดีตเราต่างละเลยเรื่องนี้กันไปมาก แต่เพื่อให้สุนัขที่เรารักมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลสุนัขที่กำลังท้อง จึงเป็นอีกเรื่องที่เหล่าคนรักสุนัขให้ความใส่ใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งหมอเองก็ดีใจแทนน้องหมาทุกตัวเลยครับ หากใครที่สนใจเข้ามาปรึกษากับหมอเอ็มเพิ่มเติม สามารถเข้ามาพบกันที่ Ultravet Pet Wellness Clinic ได้เลยนะครับ
ติดต่อ – ปรึกษาแพทย์
- Lakeside Villa 1 เลขที่ 901/3-5 (Shop 2) หมู่ 15 ถนน บางนา-ตราด,
- กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
- เวลาทำการ : 09.00 – 20.00 น. (หยุดวันอังคาร)
- เบอร์ติดต่อ : 065-526-5994
- Line : @Ultravet
สัตวแพทย์ประจำ
Ultravet Pet Wellness Clinic
น.สพ.ศุภกิตติ์ สีดำ (คุณหมอเอ็ม)