โรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข-แมว! อันตรายใกล้ตัวที่ควรเริ่มป้องกันตั้งแต่วันนี้

พยาธิหนอนหัวใจ

สวัสดีครับวันนี้มาพบหมอเอ็ม พร้อมสาระเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ ในหัวข้อวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “โรคพยาธิหนอนหัวใจ” ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว หมอเองก็ต้องขอยอมรับเลยว่าโรคนี้จัดเป็นโรคร้ายแรงที่น่ากลัวมากครับ แต่เพื่อให้น้อง ๆ ปลอดภัยจากพยาธิหนอนหัวใจ วันนี้หมอมีแนวทางการป้องกัน และวิธีสังเกตอาการเบื้องต้นมาฝากทุกคนกันครับ  แต่ก่อนอื่นใครที่ยังไม่ทราบว่าพยาธิหนอนหัวใจคืออะไร? มีสาเหตุมาจากอะไร? แล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพน้องหมาน้องแมวมากน้อยแค่ไหน? หมอได้ให้รายละเอียดที่ด้านล่างแล้วครับ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ – หมอเอ็ม Ultravet

พยาธิหนอนหัวใจ คือปรสิตชนิดหนึ่งโดยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dirofilaria immitis พยาธิเหล่านี้มักจะเจริญเติบโตโดยอาศัยอยู่ในร่างกายของสุนัขและแมวซึ่งมียุงเป็นพาหะ โดยยุงที่เคยดูดเลือดน้องหมาที่มีพยาธิหนอนหัวใจมาก่อน จะสามารถปล่อยตัวอ่อนออกมาขณะดูดเลือดสุนัขและแมวอีกตัวได้ เมื่อน้อง ๆ ได้รับเชื้อตัวอ่อนของพยาธิหนอนหัวใจจากการถูกยุงกัดแล้ว จะทำให้น้อง ๆ เป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจในระยะแรก โดยในระยะนี้น้อง ๆ จะยังไม่แสดงอาการอะไรครับ จะยังคงร่าเริงและทานอาหารได้ปกติเลยครับ เนื่องจากพยาธิชนิดนี้จะยังคงอาศัยอยู่ในกระแสเลือดในช่วงที่ยังไม่โตเต็มวัย และหากยังไม่มีการตรวจหาพยาธิจะทำให้พยาธิไปโตที่หัวใจได้ครับ นี้จึงเป็นที่มาของชื่อพยาธิหนอนหัวใจ เพราะเรามักจะพบตัวพยาธิอยู่ที่หัวใจของน้องหมาและแมวเป็นจำนวนมากครับ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่สามารถเห็นถึงความผิดปกติภายในได้ครับ แต่เมื่อเริ่มเข้าระยะ 2-3 น้อง ๆ จะเริ่มมีอาการให้เห็นครับ

วงจรการแพร่เชื้อตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจในสัตว์เลี้ยง

พยาธิหนอนหัวใจ

อาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจ

คุณพ่อแม่สามารถสังเกตอาการของน้อง ๆ ได้โดยมีจุดที่ต้องเฝ้าระวังอาการของโรค ดังนี้ครับ

  • ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
  • หายใจติดขัดหรือมีอาการเหนื่อยหอบง่าย
  • อาการบวมตามขา
  • น้ำหนักลดลง
  • เกิดอาการไอเรื้อรัง
  • ภาวะปอดอักเสบ
  • อาการท้องมานหรือมีการสะสมของของเหลวในช่องท้อง
ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

ระดับความรุนแรงของโรคพยาธิหนอนหัวใจ

พยาธิหนอนหัวใจ

ระดับที่ 1 – ในระยะแรกจะยังไม่มีอาการที่แสดงออกมากนัก โดยส่วนมากจะมีเพียงอาการไอจามที่ดูทั่ว ๆ ไป ด้วยความที่ในระยะนี้เชื้อพยาธิจะยังเป็นตัวอ่อนอยู่ จึงอาจตัวไม่พบแม้ทำการ x-ray

ระดับที่ 2 – สำหรับในระดับนี้น้องหมาและแมวจะเริ่มมีปัญหาเลือดจาง และยังสามารถพบการขยายขนาดของหัวใจได้อีกด้วยครับ แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องพามาตรวจผ่านการ x-ray และตรวจเลือดเท่านั้นครับ ถึงจะสามารถรู้อาการในช่วงภาวะระยะ 2 ได้ครับ

ระดับที่ 3 – ความรุนแรงของโรคพยาธิหนอนหัวใจในระดับนี้ ถือว่ารุนแรงและควรได้รับการรักษาเร่งด่วน โดยจะมีอาการผิดปกติแสดงออกมาให้เห็นชัดขึ้นมากครับ ไม่ว่าจะเป็น อาการไอที่มากขึ้น เหนื่อยง่ายขึ้น มีอาการอ่อนเพลียอย่างชัดเจน หากมีการพาไปตรวจร่างกายจะพบปัญหาเลือดจางที่หนักกว่าในระดับ 2 และยังมีความรุนแรงที่ผิวของปอดอีกด้วยครับ 

ระดับที่ 4 – เป็นระดับที่รุนแรงที่สุดและรักษาให้หายยากที่สุดครับ สุนัขและแมวส่วนใหญ่ที่เป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจในระดับที่ 4 จะมีปัญหาการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลาย และมักมีภาวะตับและไตล้มเหลวแทรกซ้อนด้วยครับ ซึ่งอาการในระดับ 4 ทำให้น้อง ๆ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างมากครับ

ขั้นตอนการตรวจหาพยาธิหนอนหัวใจ

การตรวจหาพยาธิหนอนหัวใจสามารถทำได้ทุก 6 เดือนเลยครับ โดยคุณหมอจะใช้เป็นชุดทดสอบสำเร็จรูป เพื่อตรวจหาแอนติเจนของพยาธิหนอนหัวใจในเลือดของสุนัขและแมวครับ หากเครื่องตรวจแสดงผลเป็นบวกนั้นหมายความว่า ในร่างกายของน้อง ๆ มีพยาธิตัวเต็มวัยอยู่ครับ แต่หากผลเป็นลบก็หมายความได้ 2 แบบครับคือ น้อง ๆ ยังไม่มีการได้รับเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ หรืออาจมีพยาธิแต่ยังไม่โตเต็มวัยพอที่จะตรวจเจอ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องพาน้อง ๆ มาตรวจในทุกปีครับ เพื่อช่วยให้เราป้องกันและดูแลสุขภาพของเขาได้อย่างดีที่สุดครับ

พยาธิหนอนหัวใจ
พยาธิหนอนหัวใจ

วิธีป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข-แมว

ทำลายแหล่งวางไข่ของยุง

อย่างที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่ายุงถือเป็นพาหะของโรคหนอนหัวใจ ดังนั้นหมอจึงขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ป้องกัน โดยการทำลายแหล่งน้ำขังเพื่อลดจำนวนยุง หรือหากเป็นไปได้ไม่ควรพาน้องหมา น้องแมว ออกมาน้องบ้านในช่วงหัวค่ำเพราะเป็นช่วงเวลาที่มียุงชุมเยอะครับ

ตรวจสุขภาพประจำปี

การพาน้องหมาน้องแมวมาตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้เราทราบระยะของตัวพยาธิได้อย่างทันท่วงทีแล้ว ยังสามารถให้เราสามารถป้องกันโรคอื่น ๆ ในสัตว์เลี้ยงได้อย่างดีด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็น โรคผิวหนัง โรคระบบขับถ่าย เป็นต้นครับ ดังนั้นช่วงระยะเวลาการพาน้อง ๆ มาตรวจสุขภาพที่ดีที่สุดคือ ไม่ต้องรอให้น้องป่วยหรือมีอาการแต่สามารถพามาได้ในทุก ๆ 6 เดือนเลยครับ เท่านี้คุณพ่อคุณแม่ก็จะสามารถป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างเห็นผลแล้วครับ

ฉีดวัคซีนกันพยาธิหนอนหัวใจ

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจ สัตว์เลี้ยงทุกตัวควรได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนด เพราะในวัคซีนจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของน้องหมาและน้องแมวให้มีความแข็งแรง สามารถรับมือกับเชื้อโรคร้ายต่าง ๆ ได้ดีขึ้นครับ ดังนั้นเมื่อน้องหมาอายุ 12 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่สามารถพาน้องมาฉีดวัคซีนได้เลยครับ และในส่วนของน้องแมวสามารถฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่ 6-16 สัปดาห์ครับ

ถ่ายพยาธิ สำคัญอย่างไร? ทำไมสุนัขและแมวต้องถ่ายพยาธิ?

การถ่ายพยาธิให้กับสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากครับ ด้วยธรรมชาติของเขาที่รักการผจญภัยชอบวิ่งเล่นนอกบ้าน จึงทำให้สุนัขและแมวเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการได้รับพยาธิจากภายนอก ซึ่งพยาธิที่มักพบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยงก็จะมี พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืด เมื่อพยาธิในร่างกายของสุนัขและแมวมีจำนวนมากจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาง่ายขึ้นครับ เช่น อาการถ่ายเหลว น้ำหนักตัวลดลง มีอาการซึมเบื่ออาหาร ดังนั้นน้อง ๆ จึงต้องได้รับการถ่ายพยาธิเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและลดการสะสมของพยาธิในร่างกายครับ

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

การรักษาพยาธิหนอนหัวใจในสุนัขและแมว

แม้ว่าการแพร่ตัวอ่อนพยาธิหัวใจในน้องหมาและแมวจะมาจากยุงเหมือนกัน แต่วิธีการรักษาของน้อง ๆ จะไม่เหมือนกันนะครับ เพราะสภาพร่างกายของทั้งสุนัขและแมวแตกต่างกันครับ ดังนั้นใครที่คิดว่ายารักษาอาการโรคพยาธิหนอนหัวใจจะสามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งสุนัขและแมว จึงเป็นข้อมูลที่ผิดและไม่เหมาะสมอย่างยิ่งเลยครับ โดยวิธีการรักษาเบื้องต้นมี ดังนี้ครับ

แนวทางการรักษาโรคหนอนหัวใจสุนัข

การรักษาโรคหนอนหัวใจสำหรับสุนัข สามารถทำได้ทั้งแบบใช้ยาและการผ่าตัดครับ แต่ทั้งนี้ก็จำเป็นต้องตรวจร่างกายและความพร้อมของสุนัขแต่ละตัวว่าเหมาะกับวิธีไหนที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมการรักษาโดยใช้ยามากกว่าการผ่าตัดครับ ยาที่ใช้ก็จะมีทั้งแบบฉีด กิน และหยดหลังครับ ตัวยาจะช่วยในเรื่องการฆ่าเชื้อพยาธิโดยเฉพาะครับ แต่ก่อนที่จะใช้ยาหมอแนะนำให้ปฎิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้นครับ เพราะหากใช้น้อยไปหรือมากไปจะส่งผลต่อการรักษาได้ครับ

แนวทางการรักษาโรคหนอนหัวใจแมว

สำหรับการรักษาในกรณีของน้องแมว ในกลุ่มน้องแมวที่อาการอยู่ในระดับ 1-2 เราจะเน้นเป็นการให้ยาเพื่อลดอาการอักเสบที่ปอด รวมทั้งยาที่ช่วยป้องกันการติดพยาธิหนอนหัวใจซ้ำด้วยครับ แต่หากน้องแมวมีพยาธิหนอนหัวใจระดับ 3-4 เราจะมีการให้ออกซิเจนและยาสำหรับขยายหลอดลม เพื่อให้น้อง ๆ หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้หมอก็จะตรวจความพร้อมของร่างกายทุกเคสก่อนเลือกวิธีรักษาเสมอครับ

สรุป

          ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ได้ทราบถึงอาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจแล้วนะครับ ดังนั้นการพาน้อง ๆ มาตรวจสุขภาพและรับวัคซีนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยครับ ซึ่งที่โรงพยาบาลสัตว์ Ultravet หมอเอ็มก็จะเป็นคนที่คอยดูแลและตรวจร่างกายให้กับสุนัข-แมวที่มาทุกเคสครับ ดังนั้นวางใจได้เลยครับว่าลูก ๆ ที่น่ารักของทุกท่าน จะปลอดภัยจากโรคพยาธิหนอนหัวใจแน่นอนครับ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจพาน้อง ๆ มาพบกับหมอเอ็ม สามารถเข้ามาที่ Ultravet ได้เลยครับ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ @Ultravet

ติดต่อ – ปรึกษาแพทย์

  • Lakeside Villa 1 เลขที่ 901/3-5 (Shop 2) หมู่ 15 ถนน บางนา-ตราด, 
  • กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
  • เวลาทำการ : 09.00 – 20.00 น. (หยุดวันอังคาร)
  • เบอร์ติดต่อ : 065-526-5994
  • Line : @Ultravet

สัตวแพทย์ประจำ Ultravet Pet Wellness Clinic
น.สพ.ศุภกิตติ์ สีดำ (คุณหมอเอ็ม)

ลงทะเบียนปรึกษาหรือรับสิทธิพิเศษ ที่นี่


    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *