น้องแมวท้องป่อง เกิดจากอะไร!? อาจเป็นสัญญาณจากโรค FIP แมว!!

โรค FIP แมว

คุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงน้องแมวต้องระวังมาก ๆ เลยนะครับ สำหรับน้องแมวที่อาการท้องกลมป่องผิดปกติ เพราะนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนจาก “โรค FIP แมว” ถือเป็นโรคที่อันตรายต่อน้องแมวอย่างมากลยครับ ดังนั้นวันนี้หมอจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาทำความเข้าใจถึง สาเหตุของโรค FIP แมวว่าเกิดจากอะไร? และส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง? พร้อมแนวทางป้องกันที่จะช่วยให้น้องแมวของทุกท่านห่างไกลจากโรคนี้มากขึ้นครับ – หมอเอ็ม Ultravet

โรค FIP แมว

โรค FIP แมว หรือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว เป็นหนึ่งในประเภทของโรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้น้องแมวเกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งถือเป็นภาวะที่อันตรายอย่างมากเลยครับ เพราะหากเกิดขึ้นกับอวัยวะใดในร่างกายของน้องแมว ก็จะส่งผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะในส่วนนั้น ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในบริเวณ อวัยวะในช่องท้อง ช่องอก ตา และระบบประสาท 

โรค FIP แมวมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากเชื้อไวรัสโคโรน่าในแมว (Feline Coronavirus) ที่ติดต่อมาจากการปนเปื้อนทางอุจจาระ ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา ความเครียด และการเลี้ยงที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งเชื้อไวรัสโคโรน่าในแมวเป็นเชื้อที่ต่างไปจากเชื้อไวรัสโคโรน่าที่แพร่ระบาดในคนครับ โดยเชื้อนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันครับ 

  1. Virulent feline coronavirus หรือ FCoV 
  2. Genetic recombination 

ซึ่งเชื้อไวรัสทั้งสองประเภทนี้ก็จะส่งผลให้เกิดความรุนแรงที่แตกต่างกันไปครับ โดยไวรัสชนิดนี้มักพบอยู่ในบริเวณลำไส้ของน้อง ๆ เมื่อมีการติดเชื้อไปสักระยะ ก็จะทำให้แมวมีปัญหาระบบทางเดินอาหารร่วมด้วยครับ นอกจากนี้โรค FIP แมวยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยครับ ดังนั้นจึงควรแยกให้น้องแมวที่มีอาการ FIP ออกจากแมวตัวอื่น

อาการของโรค FIP แมว สังเกตจากอะไร?

โรค FIP แมว

สำหรับอาการของโรค FIP แมวจะแบ่งเป็น 2 แบบด้วยกันครับ คือ โรค FIP แบบ “เปียก” และ โรค FIP แบบ “แห้ง” ซึ่งอาการของโรค FIP ทั้งสองแบบต่างสร้างความทุกข์ทรมานให้น้องแมวได้อย่างมากเลยครับ โดยคุณพ่อคุณแม่ของน้องแมวสามารถสังเกตอาการของโรคได้ ดังนี้

  • ช่วงหน้าท้องบวมป่อง
  • มีไข้
  • น้ำมูกไหล
  • อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ท้องเสีย
  • น้ำหนักลดลง
  • ไม่ร่าเริง มีอาการซึม
  • ชักเกร็ง ในกรณีที่มีอาการรุนแรง

หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ของน้องแมว และบวกกับว่าน้องแมวไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน หมอแนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องแมวมาทำการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุของอาการที่ผิดปกติและทำการรักษาอาการต่อไปครับ

โรค FIP อันตรายต่อสุขภาพของแมวอย่างไร?

โรค FIP แมวถือเป็นหนึ่งในโรคที่อันตรายต่อสุขภาพของน้องแมวอย่างมากเลยครับ โดยแรกเริ่มจะส่งผลต่อความอยากอาหารของน้อง ๆ ทำให้น้องแมวกินอาหารได้น้อยลงและส่งผลต่อน้ำหนักตัว ในบางเคสอาจมีอาการขาดสารอาหารร่วมด้วย สำหรับน้องแมวที่มีอาการโรค FIP รุนแรงก็จะส่งผลให้น้องแมวมีอาการอาเจียน ซึมมีไข้ และอาจมีหนองหรือก้อนเนื้ออยู่ภายในช่องท้องหรือหน้าอกได้ ซึ่งจุดนี้สามารถส่งผลให้น้องแมวเสียชีวิตได้ครับ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความใส่ใจต่อสุขลักษณะของน้องแมว และหมั่นพาน้อง ๆ มาตรวจสุขภาพในทุกปีจะดีที่สุดครับ

แมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค FIP

สำหรับน้องแมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค FIP แมว ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในช่วงอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวโตที่มีอายุมากกว่า 17 ปี เพราะเป็นช่วงที่แมวมีร่างกายภายในที่ยังไม่แข็งแรงมากนัก ทำให้น้อง ๆ เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสได้ง่าย นอกจากนี้โรค FIP แมวยังเป็นโรคที่เกิดในกลุ่มของน้องแมวที่ไม่รับวัคซีนครบเข็มอีกด้วยครับ สำหรับสายพันธ์ุของแมวที่มีความเสี่ยงในการติดโรค FIP ได้ง่ายมี ดังนี้

  • เบงกอล (Bengals) 
  • อะบิสซิเนียน (Abyssinians)
  • หิมาลายัน (Himalayans)
  • เบอร์แมน (Birmans)
  • เบอร์มีส (Burmese)
  • ออสเตรเลียนมิสต์ (Australian Mists)
  • บริติชขนสั้น (British Shorthairs)
  • คอร์นิชเรกซ์ (Cornish Rex)
  • เปอร์เซีย (Persians)

แนวทางการป้องกันโรค FIP แมว

โรค FIP แมว

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาอาการโรค FIP แมวให้หายขาดได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ต้องป้องกันไม่ให้น้องแมวที่บ้านได้รับเชื้อไวรัสตัวนี้ โดยสามารถเริ่มป้องกันได้ดังนี้

  1. ควรพาน้องแมวทุกตัวเข้ามารับวัคซีนแมวให้ครบตามหลัก และควรพาน้อง ๆ มาถ่ายพยาธิในทุก ๆ ปี เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของน้องแมวแข็งแรงยิ่งขึ้นครับ
  2. ทำความสะอาดกระบะทรายทุกวัน หมอขอแนะนำว่าควรเททรายให้มีมีปริมาณที่มากพอ หากมีการเลี้ยงแมวหลายตัวควรฝึกให้เขาใช้กระบะทรายของตัวเองจนเป็นนิสัย
  3. ควรแยกกระบะทรายและชามอาหารให้อยู่คนละห้อง
  4. หากเลี้ยงแมวเป็นจำนวนมากควรจัดพื้นที่ให้เพียงพอ ไม่ควรเลี้ยงน้อง ๆ ในพื้นที่ที่หนาแน่นเกินไป
  5. หมั่นทำความสะอาดที่นอนและจานชามของน้องแมว

บทความสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่คนรักสุนัข-แมว ต้องรู้!!

ความสำคัญของวัคซีนให้น้องแมว

การฉีดวัคซีนให้น้องแมวถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากเลยครับ เมื่อน้องแมวถึงวัยที่ควรฉีดวัคซีนหมอแนะนำว่า ให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องแมวมาถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีน เพราะนอกจากวัคซีนจะช่วยให้ร่างกายของน้องแมวแข็งแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันให้น้องแมวของเราปลอดภัยจากโรคร้ายต่าง ๆ ด้วยครับ อย่างเช่น โรค FIP แมว, โรคหัด, โรคเม็ดเลือดขาว, โรคหวัดแมว และโรคอื่น ๆ สำหรับโปรแกรมการฉีดวัคซีนในแมวคุณพ่อคุณแม่สามารถฉีดตามโปรแกรมการฉีดได้ดังนี้ หรือจะเข้ามาตรวจสุขภาพที่ Ultravet เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนให้เหมาะสมกับน้อง ๆ แบบรายเคสได้ครับ เพราะหมอเอ็มได้มีการตรวจสุขภาพของน้อง ๆ ที่จะทำการวางแผนฉีนวัคซีนให้เสมอครับ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้เลยว่า วัคซีนที่ฉีดให้น้อง ๆ จะเหมาะสมกับร่างกายของเขาแน่นอน

โปรแกรมการฉีดวัคซีนในแมว

อายุ ชนิดวัคซีน
8 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันไข้หัด, โรคระบบทางเดินหายใจช่องปากและลิ้นอักเสบ ครั้งที่ 1
11 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันไข้หัด, โรคระบบทางเดินหายใจช่องปากและลิ้นอักเสบ ครั้งที่ 2
14 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันไข้หัด, โรคระบบทางเดินหายใจช่องปากและลิ้นอักเสบ ครั้งที่ 3
17 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ครั้งที่ 1
20 สัปดาห์ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ครั้งที่ 2
1 ปี กระตุ้นวัคซีนพิษสุนัขบ้า, ไข้หัด และ โรคระบบทางเดินหายใจช่องปากและลิ้นอักเสบ

สรุป

          โรค FIP แมวถือเป็นโรคที่พรากทั้งความสุขของน้องแมวและคนเลี้ยงไปอย่างมากเลยครับ แม้ว่าโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคนี้ยังมีน้อยอยู่ แต่หมอก็แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่คอยสังเกตอาการของน้อง ๆ และหมั่นพาเขามาตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันและเสริมให้สุขภาพของแมวแข็งแรงยิ่งขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดอยากพาน้องแมวมาฉีดวัคซีนหรือตรวจสุขภาพที่ Ultravet สามารถติดต่อและสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ทาง Line : @Ultravet

ติดต่อ – ปรึกษาแพทย์

  • Lakeside Villa 1 เลขที่ 901/3-5 (Shop 2) หมู่ 15 ถนน บางนา-ตราด, 
  • กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
  • เวลาทำการ : 09.00 – 20.00 น. (หยุดวันอังคาร)
  • เบอร์ติดต่อ : 065-526-5994
  • Line : @Ultravet

สัตวแพทย์ประจำ Ultravet Pet Wellness Clinic
น.สพ.ศุภกิตติ์ สีดำ (คุณหมอเอ็ม)

ลงทะเบียนปรึกษาหรือรับสิทธิพิเศษ ที่นี่


    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *