แมวตาแฉะ ปัญหาตาอักเสบในน้องแมว ที่ควรระวัง!

แมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ

น้องจากขนนุ่ม ๆ ของน้องแมวที่น่ากอดแล้ว ดวงตาแสนซื่อของเขาก็ยังทำให้คุณพ่อคุณแม่ใจละลายได้ง่าย ๆ เพื่อรักษาดวงตาของน้อง ๆ ให้สดใสอยู่ไปตลอด วันนี้หมอเอ็มจึงอยากมาแชร์ในเรื่องของ “อาการน้องแมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ” ที่เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่พบได้ง่ายและบ่อยมาก ๆ แต่ก็มีหลายคนที่ถามหมออยู่บ่อย ๆ ว่า น้องแมวตาแฉะบ่อยเกิดจากอะไร? แล้วมันอันตรายมากไหม? ควรป้องกันยังไงดี? เพื่อไข้ทุกข้อสงสัยและมาร่วมป้องกันดวงตาแสนน่าเอ็นดูของน้องแมว หมอจึงได้รวบรวมทุกคำตอบไว้ให้มุกคนที่ด้านล่างแล้วครับ – หมอเอ็ม Ultravet Pet

น้องแมวตาแฉะหรือมีน้ำตาไหลตลอดเวลา ปัญหาเหล่านี้ต่างผลให้เกิด อาการแมวตาบวม ตาแดง และตาปิดได้ อาการนี้สามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุมาก ๆ ครับ วันนี้หมอจึงขอยกตัวอย่างสาเหตุของปัญหาหลัก ๆ ที่พบได้บ่อย มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้ลองสังเกตนะครับ

ตาเจ็บ

น้องแมวที่ตาแฉะเกิดได้จากอาการตาเจ็บต่าง ๆ ได้ครับ ซึ่งอาการนี้ก็จะเกิดได้ทั้งจากการกระทบกับของแข็ง การเกาและถูตาบ่อย ๆ จนทำให้ผิวหนังรอบตาระคายเคืองขึ้นมาได้ นอกจากนี้ในกลุ่มของน้องแมวที่มีเห็บและหมัดเยอะ ก็จะมีความเสี่ยงที่ตาจะเจ็บเนื่องจากโดนเห็บหมัดกัดได้ด้วยครับ เมื่อน้องแมวตาเจ็บแน่นอนว่าจะทำให้น้ำตาไหลมากขึ้น จนเกิดเป็นปัญหาแมวตาแฉะ ขี้ตาเยอะได้ครับ

แมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ

ลักษณะเฉพาะในบางสายพันธุ์

สำหรับน้อง ๆ แมวพันธ์ุที่มีลักษณะใบหน้าสั้น อย่างเช่น แมวพันธุ์เปอร์เซีย แมวพันธุ์หิมาลายัน จะมีน้ำตาไหลออกมาเยอะผิดปกติตลอดเวลา เนื่องจากกระดูกโครงหน้าที่สั้น ทำให้ท่อน้ำตาหรือต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ น้องแมวพันธุ์นี้จึงเกิดปัญหาตาแฉะกว่าน้องแมวพันธุ์อื่น ๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงน้อง ๆ พันธุ์นี้จึงควรให้ความสำคัญในการทำความสะอาด บริเวณผิวรอบดวงตาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยให้น้อง ๆ ตาแฉะสะสมกันนาน ๆ ผิวรอบดวงตาสามารถเกิดเป็นแผลได้ครับ

เยื่อบุตาขาวอักเสบและติดเชื้อไวรัส

ปัญหาแมวตาแฉะที่น่าเป็งกังวลคือ ในกรณีที่น้องแมวเกิดการติดเชื่อไวรัสหรือกำลังป่วยอยู่ ซึ่งในกลุ่มของน้องแมวที่ป่วยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอาการเบื้องต้นเป็นปัญหาตาแฉะ ตาแดง ต่าง ๆ รวมทั้งมีเยื่อบุตาสีขาวขึ้นมาปิดที่บริเวณดวงตามากขึ้นกว่าปกติ ส่วนมากน้องแมวที่ติดเชื้อไวรัสมักจะเป็นกลุ่มของน้องแมวเด็กหรือแมวที่ไม่เคยผ่านการทำวัคซีนมาก่อน ดังนั้นหากน้องแมวมีอาการตาแฉะจึงควรพาน้อง ๆ มาตรวจหาโรคภายในและทำการรักษา เพราะหากน้อง ๆ ไม่ได้รับการรักษาแล้วทิ้งระยะของการติดเชื้อไว้ จะก่อให้เกิดปัญหาเยื่อบุตาขาวอักเสบขึ้นมาได้ครับ

อย่าปล่อยให้น้องแมวเด็กตาแฉะ!

คุณพ่อคุณแม่ที่เพิ่งรับ ๆ น้องแมวเข้ามาเลี้ยง หรือ แมวที่บ้านเพิ่งคลอดน้องมา น้อง ๆ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และมักมีอาการตาบวม ตาแฉะ ได้ง่าย ในบางตัวอาจมีขอบตาแดงตลอดเวลา เนื่องจากน้อง ๆ ยังไม่แข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้นหมอแนะนำว่าไม่ควรทิ้งให้น้อง ๆ ตาแฉะสะสมเป็นเวลานาน เพราะจะเสียงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น การดูแลเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ทิชชู่เปียกสำหรับแมวเช็คทำความสะอาดเบา ๆ และควรพาน้องแมวเด็กมาตรวจร่างกายและทำวัคซีนให้แมวเมื่อน้อง ๆ ได้วัยที่ฉีดวัคซีนได้ครับ

แมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ

แผลที่กระจกตา

สือเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสของน้องแมวในประเด็นก่อนหน้านี้ สามารถส่งผลให้น้องแมวมีอาการตาแฉะ เนื่องจากการมีภาวะแผลที่กระจกตาได้ครับ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุอาการนี้ได้จาก น้องแมวตาแฉะ มีน้ำตาไหลออกมาเยอะ และมีปัญหาเยื่อบุตาเปลี่ยนเป็นสีแดง หากพบอาการเหล่านี้หมอแนะนำว่าไม่ควรละเลย และรีบพามาพบสัตวแพทย์ให้ด่วนที่สุดครับ

ช่องหน้าม่านตาอักเสบ

สำหรับสาเหตุสุดท้ายที่ทำให้น้องแมวตาแฉะได้ คือ อาการช่องหน้าม่านตาอักเสบ อาการนี้เป็นปัญหาที่สังเกตุได้ยากและมีความอันตรายสูงมากครับ เพราะมักจะเกิดขึ้นอย่างกระทันหันจนหลายคนไม่ทันสังเกต โดยเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราและโปรโตซัว หากน้องแมวไม่ได้รับการรักษาจะทำให้น้องแมวตาบอดได้ครับ เป็นอะไรน่ากลัวมากจริง ๆ ครับ ดังนั้นหากน้อง ๆ มีอาการตาแฉะมากกว่า 1 สัปดาห์ หมอจึงอยากแนะนำให้พามาพบสัตวแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงจะเป็นการดีที่สุดครับ

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

ระดับความรุนแรงของอาการแมวตาแฉะ

  • ระดับเริ่มต้น

น้องแมวมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ มีขี้ตาสะสมเยอะขึ้น ขอบตาแดง บางหลายอาจมีอาการเกาและถูขอบตาบ่อยขึ้น รวมทั้งมีอาการหลี่ตาบ่อยขึ้น

  • ระดับความรุนแรงปานกลาง

ดวงตาไม่สดใส เหยื่อบุตาของน้องแมวเริ่มขึ้นมาปิดตามากขึ้นจนเห็นชัด มีอาการตาปิดหรือตาปิดหนึ่งข้าง ในบางหลายมีอาการซึมและไม่ร่าเริ่ง 

  • ระดับรุนแรงต่อการมองเห็น

ดวงตาเริ่มเปลี่ยนเป็นสี่ขุ่น และเหยื่อบุตาเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีแดง ในแต่ละเคสเริ่มมองเห็นได้น้อยลงหรือมองเห็นไม่ชัด

น้องแมวตาแฉะ ปล่อยไว้จะอันตรายไหม?

แน่นอนว่าหากปล่อยให้น้องแมวตาแฉะโดยไม่มีการดูแล จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพของดวงตาและสุขภาพภายใน เพราะอาการตาแฉะถือเป็นอีกสัญญาณจากสุขภาพภายในของน้องแมวด้วยครับ ดังนั้นการดูแลสุขภาพของน้อง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญและไม่ควรปล่อยให้หายเองครับ โดยเฉพาะน้องแมวที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อนแล้วมีอาการตาแฉะขึ้นมา ยิ่งต้องรีบดูแลเป็นพิเศษเลยครับ เพราะว่าน้อง ๆ อาจได้รับเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่เป็นอันตรายเข้ามาครับ

วิธีรักษาแมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ

การรักษาอาการน้องแมวตาแฉะ หากพบว่าน้อง ๆ เป็นพันธุ์ที่น้ำตาไหลเยอะหรือเพิ่งมีอาการ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลโดยการทำความสะอาดรอบขอบต่างให้เขาได้ครับ ควบคู่ไปกับการใช้ยาหยอดตาสำหรับน้องแมวเพื่อลดอาการระคายเคือง แต่ทั้งนี้การเลือกซื้อยาหยอดตาควรปรึกษากับเภสัชกรก่อนซื้อครับ

แต่เพื่อการรักษาที่ดีที่สุด หมอแนะนำให้พาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการวินิจฉัยโรคจะเป็นการรักษาที่แม่นยำและตรงจุดที่สุดครับ เพราะปัญหาแมวตาอักเสบในรูปแบบต่าง ๆ เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง ที่ซ่อนโรคร้ายไว้อยู่ภายในมากกว่าที่เรามองเห็นครับ การตรวจสุขภาพให้สัตว์เลี้ยงเป็นประจำทุกปีจึงมีความสำคัญมากครับ

แมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ

แนวทางป้องกันให้น้องแมวห่างไกลจากเชื้อโรค

  • ทำความสะอาดตัวอยู่เสมอ

แม้น้องแมวจะเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างกลัวน้ำ แต่การอาบน้ำและทำความสะอาดตัวจะช่วยให้น้อง ๆ ชำระล้างเชื้อโรคและฝุ่นผงต่าง ๆ ออกไปได้มากเลยครับ โดยเฉพาะน้องแมวที่มีขนยาวที่สะสมเชื้อโรคได้ง่าย ยิ่งต้องอาบน้ำตัดขนเป็นประจำเลยครับ เพื่อป้องกันเห็บหมัดและโรคผิวหนังต่าง ๆ

  • เสริมด้วยอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน

น้องแมวที่ร่าเริง ดวงตาสดใส และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ล้วนมีผลมาจากการได้ทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน คุณพ่อคุณแม่ควรเน้นการให้อาหารที่เทใหม่และมีคุณประโยชน์ครบถ้วน เช่น วิตามิน A, วิตามิน E, โอเมก้า 3 และ 6 เป็นต้น

  • ทำความสะอาดบริเวณที่อยู่ของน้องแมว

ความสะอาดของเบาะน้อง ของเล่น และกระบะทราย จะช่วยทำให้น้อง ๆ ลดโอกาสรับเชื้อโรคจากของใช้ได้มากขึ้นครับ หมอจึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำความสะอาดสิ่งขอและพื้นที่ที่น้องอยู่เป็นประจำครับ 

  • พามาทำวัคซีน

การฉีดวัคซีนสำคัญมาก ๆ ครับ เพราะจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของน้อง ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรพาน้อง ๆ มาฉีดวัคซีนเมื่ออายุครบ 2 เดือนขึ้นไป หลังจากฉีดวัคซีนครบตามแผนแล้ว สามารถพาน้อง ๆ มาฉีดเข็มกระตุ้นได้ทุกปีครับ เท่านี้น้อง ๆ ก็จะแข็งแรงและต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ พร้อมวิ่งเล่นได้แล้วครับ

บทความที่น่าสนใจ

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

สรุป

          อาการที่ดูธรรมดาอย่างเช่น อาการแมวตาแฉะ แมวตาอักเสบ ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้น้องแมวป่วยได้ เพราะน้อง ๆ เขาไม่สามารถบอกได้ว่าเขาไม่สบายอยู่ จึงมีสัญญาณเหล่านี้ที่แสดงออกมาเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ระวังครับ เพื่อดูแลให้น้องแมวของเราให้มีดวงตาที่สดใส ร่างกายที่แข็งแรง และขนที่นุ่มสวย การถ่ายพยาธิ ตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนประจำปี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้น้องแมวแข็งแรงไปได้อีกนานเลยครับ

ติดต่อ – ปรึกษาแพทย์

  • Lakeside Villa 1 เลขที่ 901/3-5 (Shop 2) หมู่ 15 ถนน บางนา-ตราด, 
  • กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
  • เวลาทำการ : 09.00 – 20.00 น. (หยุดวันอังคาร)
  • เบอร์ติดต่อ : 065-526-5994
  • Line : @Ultravet

สัตวแพทย์ประจำ Ultravet Pet Wellness Clinic
น.สพ.ศุภกิตติ์ สีดำ (คุณหมอเอ็ม)

ลงทะเบียนปรึกษาหรือรับสิทธิพิเศษ ที่นี่


    Leave a Reply

    Your email address will not be published. Required fields are marked *